ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล๊อกมัลติมิเดียเพื่อศึกษาการเรียนรู้

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เทคนิคการวาดภาพลายเส้น

   การวาดลายเส้น: คือ ภาพวาดที่เป็นเส้นอาจมีความสมบูรณ์ในตนเองหรือแต่งเติมด้วยการลงแสงเงาให้เด่นชัดยิ่งขึ้น
ใน การวาดลายเส้นเราควรจะมารู้จักกับอุปกรณ์ในการวาดลายเส้นอุปกรณ์ที่ใช้ในการ เขียนลายเส้นที่เป็นพื้นฐานของการสร้างงานศิลปะที่เรียกว่า ทัศนศิลป์ หลายๆคนที่เคยสอบเอ็นทรานซ์คงรู้ดีว่าเป็นการวาดอย่างไร เราลองมารู้จักกับอุปกรณ์กันก่อนที่จะรู้จักหลักเทคนิคในการวาดต่อไป


    อุปกรณ์ (Materials) เป็นอุปกรณ์ในการวาดทั่วไปที่ใช้ในทัศนศิลป์
1. ดินสอดำ ในการวาดควรใช้เฉพาะขนาดตั้งแต่ 5B จนถึง EE เพราะมีความเข้มมาก ขนาดที่ต่ำกว่านี้ถ้าหากแรเงาจะเกิดความมันเลื่อม สะท้อนทำให้ภาพดูไม่ชัดเจน
2. ปากกาหมึกซึม เป็นปากกาใช้จุ่มหรือมีหมึกในตัวก็ได้ จุดเด่นของการใช้ปากกาคือ จะทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวา
3. ปากกาหมึกแห้ง สะดวกในการใช้จะให้เส้นออกมามีความสนุกสนานอิสระ
4.แท่งถ่าน เป็นแท่งถ่านที่ขายตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป


   อุปกรณ์ทั่วไป (Natural Meterials)
1. กระดานรองเขียน
2. ตัวหนีบ
3. ยางลบ
4. มีดเหลาดินสอ
5. กระดาษทราย ถ้าจะให้สะดวกในการใช้ควรหาไม้สี่เหลี่ยมเล็กมารองแผ่นกระดาษทราย
6. กระดาษปรู๊ฟ คือ กระดาษเนื้อบางลักษณะเหมือนกับกระดาษที่ใช้ม้วนยาสูบ
7. กระดาษ 100 ปอนด์


   เทคนิคการฝึกความแม้นยำในการวาดมีดังต่อไปนี้


1. การขีดเส้นตรงในแนวนอนและแนวตั้งให้เส้นมีชองไฟเท่าๆกัน
2. การขีดเส้นตรงให้ลงน้ำหนักมือและผ่อนลงไปจะได้เส้นที่มีลักษณะคล้ายดาวตก
3.การขีดเส้นตาข่ายให้ช่องไฟเท่ากันในทุกทิศทาง
4. การไล่น้ำหนักเงาจากอ่อนไปหาแก่และจากแก่ไปหาอ่อน
5. การลากเส้นเป็นเลขแปดอย่างต่อเนื่อง

งานลายเส้น กับ เล่นสี



วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

ความรู้เรื่องสี

สีแบ่งเป็น  2  โทน
       -  โทนเย็น
     -  โทนร้อน


โทนเย็น   
    

โทนร้อน
  
  


สีชุดพิเศษ 
 



Tint   =   สีแท้ +  สีขาว
Shape =  สีแท้  +  สีดำ 
             
               สีน้ำเงิน    +     ขาว    =  ฟ้า
                  แดง       +     ขาว    =  ชมพู     

วงล้อสีธรรมชาติ


วงล้อสีธรรมชาติ



             จากรูป ชั้นในสุดจะเป็นแม่สี (สีขั้นที่ 1 หรือสีปฐมภูมิ) ชั้นต่อมาได้จากการผสมกันของสีในขั้นที่ 1 เป็นสีขั้นที่ 2 (สีทุติยภูมิ) ชั้นต่อมา เป็นสีที่ได้จากการผสมสีขั้นที่ 2 ได้เป็น สีขั้นที่ 3 (สีตติยภูมิ)
วงล้อสีธรรมชาติ
1.สีทุกสี ในวงล้อเป็นสีแท้ เพราะทุกสีมีความเข้มหรือความสดใสในตัวของมันเองซึ่งเกิดจากการผสมของแม่สี
2.เมื่อนำสีทุกสีมาผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากันจะทำให้เกิดสีเป็นกลาง
3.สีที่อยู่ใกล้กันจะมีความกลมกลืนกัน เพราะเป็นการผสมสีจากสีร่วมกัน เช่น ม่วงแดง แดง และแสดแดง
4. สีตรงข้ามกันในวงล้อสีจะมีลักษณะสีที่ตัดกัน หรือเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน
เช่น สีแดง กับสีเขียว ฉะนั้นในวงล้อสีจึงมีสีที่ตัดกันอย่างแท้จริง
อยู่ 6 คู่ การนำสีตรงข้ามมาใช้ในการออกแบบ จะช่วยทำให้ภาพ
น่าสนใจมากขึ้น แต่ต้องใช้ให้ถูกหลักการ คือไม่ควรใช้สีที่ตัดกันอย่างแท้จริงสัดส่วนที่เท่ากัน ถ้าจะใช้ควรจะมีสัดส่วนประมาณ
80 : 20 หรือมิฉะนั้นก็ต้องทำให้สีใดสีหนึ่งหรือทั้งคู่ ลดความสดใสรุนแรงลงไป ที่เรียกว่า การเบรกสี หรือ ฆ่าสี ซึ่งอาจทำได้โดย
- การทำให้สีจางลง โดยการเติมสีขาวลงไปในสีแท้
- การทำให้สีเข้มหรือมืด โดยการเติมสีดำลงไป                     
- การใช้วิธีการใช้สีเทา ผสมลงเล็กน้อย จะทำให้สีหม่นลง หรืออาจใช้สีตรงข้ามเพียงเล็กน้อย ก็จะทำให้สีนั้นลดความสดใสไปได้


ผลงานการประดิษฐ์ตัวอักษรหัวเรื่อง










วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

เรียนรู้เว็บบล๊อก(webblog)


รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
อาจารย์ผู้สอนสุจิตตรา  จันทร์ลอย
ปีการศึกษา /2553
นายวัชรชัย  วิบูลย์สุข  นักศึกษา ป.บัณฑิตรุ่น 13 หมู่ 2  คณะครุศาสตร์


ประวัติส่วนตัว
วันเกิด 8 สิงหาคม 2524
ภูมิลำเนา   จังหวัดราชบุรี
การศึกษา  ปริญญาตรี เอกนิเทศศาสตร์ สาขาการประชาสัมพันธ์  มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ประสบการณ์ทำงาน ผู้ช่วยเซฟ โรงแรมเรอรอยัลเมอริเดียล บ้านตลิ่งงาม  เกาะสมุย          
                          ผู้ช่วยเชฟ โรงแรมแอมบัสเดอร์ กรุงเทพฯ
ตำแหน่งปัจจุบัน  ครูฝึกสอนคหกรรม โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี
คติประจำใจ  มุ่งมั่นสู่อนาคตข้างหน้า
E-mail  groubsteve@hotmail.com

จิตวิทยาการเรียนการสอน